โลโก้เว็บไซต์ ประกวดโครงร่างวิจัยพลังงาน (Pitching) ในระดับอุดมศึกษา ปีที่ 2 | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา น่าน

ประกวดโครงร่างวิจัยพลังงาน (Pitching) ในระดับอุดมศึกษา ปีที่ 2

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 1 มิถุนายน 2566 โดย นคร คำกิติ จำนวนผู้เข้าชม 2 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

     สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ขอเชิญนิสิต นักศึกษา ร่วมกิจกรรมการประกวดโครงร่างวิจัยพลังงาน (Pitching) ในระดับอุดมศึกษา ปีที่ 2 ขึ้น ภายใต้ชื่อ "New Gen Energy Research Showcase" ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 400,000 บาท ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2566

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าร่วมประกวด
เป็นนิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาตรีจำนวน 4 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 2 คน รวมสมาชิกในทีมจำนวน 6 คนต่อทีม
หมายเหตุ นิสิต นักศึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษา สามารถมาจากต่างสาขาวิชาหรือคณะ ในสถาบันการศึกษาเดียวกันได้และผู้สมัครจะต้องมีสถานะเป็นนิสิต นักศึกษา ในระดับปริญญาตรี ณ วันที่ยื่นใบสมัคร

ประเภทการประกวด
ผู้สมัครต้องเลือกประเภทการประกวดโครงร่างวิจัยพลังงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • Hardware Innovation : โครงร่างวิจัยสำหรับการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ ที่ใช้ในการผลิต หรือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน หรือพัฒนาพลังงานทดแทน โดยสามารถใช้ประโยชน์ได้จริงและเป็นรูปธรรม
  • Software Innovation : โครงร่างวิจัยสำหรับพัฒนาโปรแกรม หรือ Application เพื่อติดตั้งและใช้งานสำหรับโทรศัพท์มือถือ Tablet (แท็บเล็ต) หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือการพัฒนารูปแบบธุรกิจและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน หรือพัฒนาพลังงานทดแทน

กรอบหัวข้อวิจัยพลังงาน
เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพลังงานชาติ และเพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) มุ่งเน้นส่งเสริมความมั่นคงภาคพลังงานเพื่อรองรับรูปแบบการผลิตและการใช้พลังงานที่มีความหลากหลายมากขึ้นในอนาคต และที่สำคัญให้สอดรับกับนโยบายการดำเนินงาน ของ สนพ. จึงได้กำหนดกรอบหัวข้อวิจัยพลังงาน ดังนี้

  • กรอบวิจัยที่ 1 ด้านความมั่นคงทางพลังงาน และพลังงานที่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ
    • การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตและการจัดหาพลังงาน
    • การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการจัดการพลังงาน
    • การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการกักเก็บพลังงาน
    • การพัฒนารูปแบบธุรกิจและนวัตกรรมพลังงาน
  • กรอบวิจัยที่ 2 ด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
    • การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในภาคอุตสาหกรรม
    • การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในภาคพาณิชยกรรม
    • การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในภาคครัวเรือน
    • การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในภาคขนส่ง
    • การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในภาคเกษตรกรรม
  • กรอบวิจัยที่ 3 ด้านการพัฒนาพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    • การพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน
    • การพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

หมายเหตุ พลังงานทดแทน ในที่นี้หมายถึง พลังงานหมุนเวียนและพลังงานอื่นๆ ประกอบด้วย พลังงานหมุนเวียน (พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ ชีวมวล ขยะ และก๊าซชีวภาพ) เชื้อเพลิงชีวภาพ (เอทานอลและไบโอดีเซล) และพลังงานอื่นๆ (แบล็คลิเคอและก๊าซเหลือใช้จากขบวนการผลิต)

ข้อกำหนดและวิธีการสมัคร
ผู้สมัครเข้าร่วมการประกวดโครงร่างวิจัยพลังงาน (Pitching) ในระดับอุดมศึกษา ปีที่ 2 ต้องดำเนินการ ดังนี้

  • ดาวน์โหลดใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัคร ที่ QR Code ด้านล่าง
  • กรอกใบสมัคร และจัดทำรายละเอียดประกอบการสมัคร ดังนี้
  • ข้อเสนอโครงร่างวิจัยพลังงาน (Project Proposal) พร้อมประมาณการค่าใช้จ่ายและแผนการใช้จ่ายเงินสนับสนุน ความยาวรวมไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ A4 ตามแบบฟอร์มที่ สนพ. กำหนด บันทึกไฟล์ในรูปแบบ .PDF ตั้งชื่อไฟล์เป็นชื่อทีมและอักษรย่อมหาวิทยาลัย ตัวอย่าง ชื่อทีม_อักษรย่อมหาวิทยาลัย
  • คลิปวิดีโอนำเสนอแนวคิดโครงร่างวิจัยพลังงาน ความยาวไม่เกิน 5 นาที บันทึกไฟล์ในรูปแบบ .MP4 ตั้งชื่อไฟล์เป็นชื่อทีมและอักษรย่อมหาวิทยาลัย ตัวอย่าง ชื่อทีม_อักษรย่อมหาวิทยาลัย คลิปวิดีโอประกอบด้วย
    • การแนะนำสมาชิกในทีม พร้อมทั้งอธิบายโครงร่างวิจัยพลังงานของตนเอง
    • อธิบายจุดเด่นของโครงร่างวิจัยพลังงาน
    • อธิบายประโยชน์และผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
  • กรณีที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน ผู้ประกอบการ หน่วยงานวิจัย หรือหน่วยงานอื่นๆเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ ในการจัดทำโครงร่างวิจัยพลังงาน จะต้องแนบเอกสารหนังสือรับรองจากหน่วยงานดังกล่าว ประกอบการสมัครในครั้งนี้ด้วย
  • สมัครเข้าร่วมโครงการ โดยอัปโหลดเอกสารใบสมัคร รายละเอียดข้อเสนอโครงร่างวิจัยพลังงานคลิปวิดีโอ และเอกสารประกอบการสมัครอื่น ๆ ได้ที่ https://linktr.ee/nespitching

กำหนดระยะเวลา
เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2566

เงินสนับสนุน และเงินรางวัล

  • ทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบที่ 2 รอบคัดเลือก (Audition) และเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวทาง (Bootcamp) จำนวน 24 ทีม จะได้รับเงินสนับสนุนการจัดทำโครงร่างวิจัยพลังงาน ทีมละ 40,000 บาท
  • ทีมที่ชนะการประกวดรอบชิงชนะเลิศ (Pitching) จะได้รับเงินรางวัล ใบประกาศนียบัตร และโล่รางวัล ตามแต่ละประเภทการประกวด ได้แก่ Hardware Innovation และ Software Innovation จำนวนทั้งสิ้น 10 รางวัล รวมมูลค่า 400,000 บาท ดังนี้
    • รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 100,000 บาท ประเภทละ 1 รางวัล รวม 2 รางวัล
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 150,000 บาท ประเภทละ 1 รางวัล รวม 2 รางวัล
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 130,000 บาท ประเภทละ 1 รางวัล รวม 2 รางวัล
    • รางวัลชมเชย เงินรางวัล 110,000 บาท ประเภทละ 1 รางวัล รวม 2 รางวัล
    • รางวัล Popular vote เงินรางวัล 110,000 บาท ประเภทละ 1 รางวัล รวม 2 รางวัล

ติดต่อสอบถาม