โลโก้เว็บไซต์ สวพ.มทร.ล้านนา และ สวก.ลำปาง เข้าร่วมประชุม นักวิจัยภายใต้โครงการ “การพัฒนาและสนับสนุนพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม พื้นที่จังหวัดลำปาง” | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา น่าน

สวพ.มทร.ล้านนา และ สวก.ลำปาง เข้าร่วมประชุม นักวิจัยภายใต้โครงการ “การพัฒนาและสนับสนุนพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม พื้นที่จังหวัดลำปาง”

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 30 พฤศจิกายน 2566 โดย ณิชกมล โพธิ์แก้ว จำนวนผู้เข้าชม 1 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖ คณะผู้บริหารสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร พร้อมด้วยบุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา หน่วยบริหารจัดการกลางโครงการวิจัย “การประยุกต์ใช้และขยายผลเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อสร้างขีดความสามารถและโอกาสทางสังคม สำหรับคนจนเป้าหมายในพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์” เข้าร่วมประชุม นักวิจัยภายใต้โครงการ “การพัฒนาและสนับสนุนพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม พื้นที่จังหวัดลำปาง” ประจำเดือน พฤศจิกายน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ สมุทธารักษ์ รักษาราชการแทนอธิการบดี เป็นประธานในที่ประชุม ณ ห้องประชุมโอฬารรมย์ ชั้น ๑ อาคารโอฬารโรจน์หิรญ (อาคาร ๓๘) มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ช

การประชุมได้นำเสนอความก้าวหน้าของการกรอกข้อมูล OM เข้าระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือ DSS  ขั้นตอนกระบวนการ “การค้นหาและสอบทาน” ครัวเรือนยากจน พื้นที่จังหวัดลำปาง การนำเสนอผลการจัดเวที Poverty Forum “ไผ่พืชเศรษฐกิจชุมชนสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ณ ศูนย์เรียนรู้สมุนไพรพื้นบ้าน และกิจกรรม “วิ่งการกุศลปางป๋วยครอสคันทรี่ครั้งที่ ๓” แบมบูเทรล ตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง 

ในที่ประชุมมีการนำเสนอรายงานความก้าวหน้าและแผนการดำเนินงานโครงการวิจัยย่อยภายใต้แผนงานวิจัย จำนวน ๕ โครงการ ก่อนที่จะมีการพิจารณารูปแบบ ผู้รับผิดชอบ การนำผลงานวิจัยโครงการ การพัฒนาและสนับสนุนพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม พื้นที่จังหวัดลำปาง ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๖ ณ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

สำหรับการพัฒนาและสนับสนุนพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม พื้นที่จังหวัดลำปาง นั้น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับเครือข่าย ๙ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้ดำเนินงานโดยสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร และมีสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมเป็นหน่วยบริหารจัดการกลางชุดโครงการวิจัยดังกล่าว ทั้งนี้ได้ดำเนินการในพื้นที่เป้าหมาย ๕ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเถิน แม่เมาะ งาว แจ้ห่ม และอำเภอเมืองลำปาง โดยการขับเคลื่อนโมเดลหลักคือ ข้าวลำปาง และ โมเดลเสริม คือ ไผ่แก้จน ที่เชื่อมโยงกับห่วงโซ่คุณค่าของคนจนเป้าหมายบนฐานข้อมูล PPPConext รวมจำนวน ๘๖๐ ครัวเรือนคนจนเป้าหมาย


ภาพ/ข่าว: สุริยนต์ สูงคำ