โลโก้เว็บไซต์ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มทร.ล้านนา จับมือ อบจ.ลำปาง ตั้งศูนย์ Smart Farming สร้างแหล่งการเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะครบวงจร  | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน

สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มทร.ล้านนา จับมือ อบจ.ลำปาง ตั้งศูนย์ Smart Farming สร้างแหล่งการเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะครบวงจร

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 19 มกราคม 2565 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 2288 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

          วันที่ 17 มกราคม 2565  ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ผู้ช่วยศาสตราจารย์สันติ ช่างเจรจา หัวหน้าแผนงานวิจัยชุดโครงการ พร้อมด้วยคณะวิจัยโครงการ “การเพิ่มประสิทธิภาพ มาตรฐานการผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรวิถีชุมชนจังหวัดลำปางและจังหวัดตากด้วยนวัตกรรม”สนับสนุนการดำเนินงานโดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ปี 2563 ของสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง โดยร่วมประชุมหารือร่วมกับ นางสาวตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร นายกองค์การบริหารจังหวัดลำปาง พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในการจัดตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้ระบบเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) จังหวัดลำปาง” เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเกษตรวิถีชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยบูรณาการการทำงานร่วมกัน ให้ศูนย์การเรียนรู้ระบบเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) จังหวัดลำปาง เป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ในเรื่องการใช้ระบบเกษตรอัจฉริยะต่างๆ ให้กับประชาชนทั่วไปและเกษตรกรของจังหวัดลำปาง

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์สันติ ช่างเจรจา หัวหน้าแผนงานวิจัยชุดโครงการ  เปิดเผยว่า “ศูนย์การเรียนรู้ระบบเกษตรอัจฉริยะ (SMART Farming) จังหวัดลำปาง เป็นโครงการภายใต้การบูรณาการแผนงานริเริ่มสำคัญ (Flagship) 2563 ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของ มหาวิทยาลัยมุ่งสู่กลไกการสร้างการมีส่วนร่วมพื้นที่การเรียนรู้พัฒนาการศึกษา (Hands On Learning) ในการยกระดับศักยภาพเกษตรกรรุ่นใหม่ (นวัตกรชุมชน/ SMART Farmer)   ปรับเปลี่ยนวิถีเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมบนการขยายผลเชื่อมโยงกับแนวทางแผนงานวิจัยชุดโครงการ “นวัตกรรมกระบวนการมีส่วนร่วมการสร้างห่วงโซ่การผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูงได้มาตรฐานในชุมชนนวัตกรรมจังหวัดลำปางและจังหวัดตาก” บพท. 2565 เข้าสู่แผนการพัฒนาด้านการเกษตรของอบจ.ลำปาง ในปี พ.ศ. 2565 ถึง 2567 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากชุมชนสู่ความยั่งยืน ซึ่งโครงการนี้ถือว่าจะเป็นโอกาสที่มหาวิทยาลัยจะได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆเพื่อเข้าไปช่วยเพิ่มศักยภาพและก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมชุมชนอย่างแท้จริง”







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon