โลโก้เว็บไซต์ มทร. ล้านนา นำเสนอผลงานภาคนิทรรศการและผลงานวิจัย เรื่อง “ความหลากหลายของปลาในลุ่มน้ำน่าน” | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน

มทร. ล้านนา นำเสนอผลงานภาคนิทรรศการและผลงานวิจัย เรื่อง “ความหลากหลายของปลาในลุ่มน้ำน่าน”

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 6 กันยายน 2559 โดย สุพิชฌาย์ ถาวรลิมปะพงศ์ จำนวนผู้เข้าชม 3395 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาร่วมกับสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ได้ร่วมจัดกิจกรรม “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2559 (Thailand Research Expo 2016)” ขึ้นระหว่างวันที่ 17 – 21 สิงหาคม 2559 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯและ

ได้นำเสนอผลงานภาคนิทรรศการ และได้เสนอผลงานวิจัยเรื่อง “ความหลากหลายของปลาในลุ่มน้ำน่าน” ซึ่งมี ผศ.อมรชัย ล้อทองคำ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน เป็นเจ้าของผลงาน 
โดยได้เข้าร่วมนำเสนอในกลุ่มเรื่องงานวิจัยเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และการพัฒนาชุมชนพื้นที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ในการสำรวจความหลากหลายชนิดปลาในแม่น้ำว้า ในเขตอำเภอบ่อเกลือ พบว่าปัญหาของปลาเลียหินหรือปลามันในแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งเป็นปลาในของถิ่น ประชาชนนิยมนำมาบริโภคจึงลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง ส่งกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น ปลาชนิดนี้มีการแพร่หลายในลุ่มแม่น้ำว้า ในเขตอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน และจากการสืบค้นทางวิชาการพบว่าเป็นปลาชนิดใหม่ของโลก ซึ่งทางคณะผู้วิจัยได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Garra (การ์-รา) Waensis หรือเรียกปลาชนิดนี้ว่า ปลาเลียหินน้ำว้า และชื่อท้องถิ่นว่า “ปลามันหัวแข็ง”




มีลักษณะเด่น มีจานดูดบริเวณริมฝีปากล่างสำหรับยึดเกาะหิน เกล็ดมีจุดสีส้มแดงกระจายอยู่บนลำตัว ก้านครีบหลังแตกแขนง 7 ก้าน โดยจะพบปลาชนิดในลุ่มแม่น้ำว้าในเขตอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่านเพราะพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ มีความครึ้มเย็นตลอดปี ไม่มีพื้นที่ทำการเกษตร จึงเป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าต้นน้ำได้เป็นอย่างดี

ในการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ทาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้รับรางวัล “Gold Award” ถ้วยรางวัลจาก นายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2559 (Thailand Research Expo 2016) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งผลงาน ที่หน้าภาคภูมิใจของเราชาว “ราชมงคลล้านนา”






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา