โลโก้เว็บไซต์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อเรื่อง “วิวัฒนาการนวัตกรรมอาหารพื้นถิ่นล้านนา” และ “แนวคิดการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมอาหารพื้นถิ่นเชิงสร้างสรรค์” ภายใต้โครงการ การเสริมสร้างผู้ประกอบการ SMEs กับการพัฒนานวัตกรรมอาหาร สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป  | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน

กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อเรื่อง “วิวัฒนาการนวัตกรรมอาหารพื้นถิ่นล้านนา” และ “แนวคิดการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมอาหารพื้นถิ่นเชิงสร้างสรรค์” ภายใต้โครงการ การเสริมสร้างผู้ประกอบการ SMEs กับการพัฒนานวัตกรรมอาหาร สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 11 พฤษภาคม 2566 โดย จริยา ปามูล จำนวนผู้เข้าชม 1470 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

     ในวันพุธ ที่ 10 พฤษภาคม 2566 กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อเรื่อง “วิวัฒนาการนวัตกรรมอาหารพื้นถิ่นล้านนา” และ “แนวคิดการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมอาหารพื้นถิ่นเชิงสร้างสรรค์” โดย คุณเบญจมาศ ชัยพรหม ผู้เชี่ยวชาญ จาก บริษัท อิมม์ คอนซัลติ้ง จำกัด และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพ็ญวรัตน์ พันธ์ภัทรชัย จาก วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มทร.ล้านนา ให้เกียรติเป็นวิทยากรอบรม ภายใต้โครงการ การเสริมสร้างผู้ประกอบการ SMEs กับการพัฒนานวัตกรรมอาหาร สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป โดยมี ดร.ธนวรรธน์ วัชรดำรงค์ศักดิ์ ผู้จัดการโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (โปรแกรม ITAP) เครือข่าย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กล่าวเปิดงาน ณ ห้องประชุมลีลาวดี ชั้น 1 อาคารอำนวยการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

     โดยโครงการ การเสริมสร้างผู้ประกอบการ SMEs มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่สถานประกอบการ ในการเรียนรู้ เตรียมตัว และปรับตัวสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีนวัตกรรมอาหารมาปรับปรุง พัฒนากระบวนการผลิต และเพื่อส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาผลิตภัณฑ์ของสถานประกอบการให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และตรงกับความต้องการของลูกค้า ตอบโจทย์ให้สถานประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคงและยั่งยืนในอนาคต ซึ่งกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการฯ มีการจัดกิจกรรมการทดสอบทางประสาทสัมผัส (Sensory Evaluation) และการอภิปรายกลุ่มย่อยโดยมีผู้เชี่ยวชาญร่วมวิเคราะห์ปัญหาเชิงลึกให้กับสถานประกอบการ 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon