โลโก้เว็บไซต์ กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ลงพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ จังหวัดตาก เพื่อค้นหาโจทย์วิจัยร่วมกัน ภายใต้โครงการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Chang Agent) ด้วยกลไก New Academic Staff โดยใช้พื้นที่โครงการหลวงและโครงการพระราชดำริเป็นรากฐานในการพัฒนา | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน

กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ลงพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ จังหวัดตาก เพื่อค้นหาโจทย์วิจัยร่วมกัน ภายใต้โครงการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Chang Agent) ด้วยกลไก New Academic Staff โดยใช้พื้นที่โครงการหลวงและโครงการพระราชดำริเป็นรากฐานในการพัฒนา

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 21 มิถุนายน 2566 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 999 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

          วันที่ 21 มิถุนายน 2566 นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทน อธิการบดี มทร.ล้านนา ร่วมกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ ยาทะเล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหาร มทร.ล้านนาตาก และคณาจารย์ นักวิจัย มทร.ล้านนา จังหวัดตาก พร้อมด้วยคณะทำงานกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมีลงพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการที่ดำเนินการร่วมกับศูนย์ฯ และร่วมหารือกับ คุณบัญประชา ทองโชติ หัวหน้าศูนย์ฯ โดยในที่ประชุม หัวหน้าศูนย์ได้นำเสนอภาพรวมการดำเนินกิจกรรม ภารกิจ กลไกการพัฒนาขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการศูนย์พัฒนาโครงการหลวง รวมถึงร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหา และความต้องการ จากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรจักร์ เมืองใจ หัวหน้ากลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ได้ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินโครงการและการพัฒนาข้อเสนอโครง ภายใต้การดำเนินการสนับสนุนของกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ในพื้นที่ศูนย์ฯและจังหวัดตาก

          ทั้งนี้ รศ.ดร.อัจฉรา ดลวิทยาคุณ หัวหน้าโครงการวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่ พลังงานต่ำ วิตามินซีสูงจากเสาวรส สตรอว์เบอร์รี่ และเคพกูสเบอร์รี่ ได้รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการวิจัยที่ดำเนินการแล้วเสร็จแล้วในปีงบประมาณ 2566 คิดเป็นร้อยละ 80 และให้ข้อมูลแนวทางการพัฒนาโครงการ เพื่อสนับสนุน ขยายผล และต่อยอด ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายของจังหวัดตากที่สนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ และหัวหน้าศูนย์ฯยังหารือแนวทางการจัดการคัดแยกขยะบนพื้นที่และมีความต้องการเครื่องอัดขยะพลาสติกเพื่อลดขนาดพื้นที่จัดเก็บ โดยพื้นที่ตาก ยินดีนำโจทย์ปัญหาดังกล่าวไปจัดทำเป็นข้อเสนอโครงการวิจัย/โครงการบริการบริการวิชาการ พื้นที่งานใต้ร่มพระบารมี ภายใต้งบประมาณโครงการหลวง โครงการพระราชดำริ

เรียบเรียง/นายสามารถ สาลี
ภาพ/กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา