โลโก้เว็บไซต์ สวพ. ร่วมกับ ทีมวิจัย สวก. ลำปาง เข้าร่วมการประชุม “การเขียนรายงาน Interim การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงสัมพันธ์ของ Pro Poor Value Chain” ณ ห้องประชุมโอฬารรมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน

สวพ. ร่วมกับ ทีมวิจัย สวก. ลำปาง เข้าร่วมการประชุม “การเขียนรายงาน Interim การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงสัมพันธ์ของ Pro Poor Value Chain” ณ ห้องประชุมโอฬารรมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

เผยแพร่เมื่อ : อาทิตย์ 12 พฤศจิกายน 2566 โดย ณิชกมล โพธิ์แก้ว จำนวนผู้เข้าชม 6569 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันอาทิตย์ที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นพพร พัชรประกิติ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์อภิชาติ ชิดบุรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร และทีมวิจัยจากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร โครงการวิจัยแก้จน ฯ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เข้าร่วมประชุมการเขียนรายงาน Interim การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงสัมพันธ์ของ Pro Poor Value Chain ณ ห้องประชุมโอฬารรมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดยมีท่านรองศาสตราจารย์กิตติศักดิ์ สมุทธารักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เป็นประธาน

การประชุมดังกล่าวดำเนินการโดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ที่ได้รับการสนับสนุนโครงการ “การพัฒนาระบบสนับสนุนพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม พ.ศ.๒๕๖๖” จากหน่วยงานบริหารและจัดการทุนการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมทักษะการเขียนรายงาน Interim ที่สามารถสื่อสารพลังการเปลี่ยนแปลงจากการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเป็นรูปธรรมแก่นักวิจัยในพื้นที่จังหวัดลำปาง และเพื่อเสริมทักษะการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงสัมพันธ์ของ Pro Poor Value Chain แก่นักวิจัยในพื้นที่จังหวัดลำปาง

ทั้งนี้ในโครงการดังกล่าว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดลำปาง โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์สันติ ช่างเจรจา สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร ได้ดำเนินโครงการ “กระบวนการมีส่วนร่วมยกระดับสินค้าเกษตรมูลค่าสูงด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสร้างโอกาสและคุณค่าร่วมทางสังคมของคนจนเป้าหมาย พื้นที่วิจัยจังหวัดลำปาง” โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ การประยุกต์ใช้และขยายผลเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ในการพัฒนาอาชีพและยกระดับรายได้คนจนและครัวเรือนยากจนในจังหวัดลำปาง เพื่อเข้าถึงการยกระดับฐานะทางสังคม (Social Mobility) ให้หลุดพ้นจากความยากจน และออกแบบและสร้างความร่วมมือกับกลไกความร่วมมือเพื่อขจัดความยากจนในระดับจังหวัดลำปาง ในการพัฒนาศักยภาพคนจนเป้าหมายด้วยการใช้ความพร้อมของความรู้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและนวัตกรรมที่มีการผสมผสานเรื่ององค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นเข้ากับระบบนิเวศและองค์ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัย

ทั้งนี้ นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาได้ดำเนินการเข้าสู่เดือนที่ ๘ และมีผลการดำเนินงานสำคัญคือ เกิดกรอบการดำเนินงาน “โมเดลแก้จนจังหวัดลำปาง” ๒ โมเดล ได้แก่โมเดลหลักคือ ข้าวลำปาง และ โมเดลเสริม คือ ไผ่แก้จน โดยมีเป้าหมาย ๕ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเถิน แม่เมาะ งาว แจ้ห่ม และอำเภอเมืองลำปาง ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ที่เชื่อมโยงกับห่วงโซ่คุณค่าของคนจนเป้าหมายบนฐานข้อมูล PPPConext รวมจำนวน ๘๖๐ ครัวเรือนคนจนเป้าหมาย เกิดกลไกร่วมการขับเคลื่อนภายใต้รูปธรรมเครือข่ายบนข้อตกลงความร่วมมือ MOU ของ ๒๑ หน่วยงาน ๙ กระทรวงในจังหวัดลำปาง และอยู่ระหว่างการจัดการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มมูลค่าบนห่วงโซ่คุณค่าข้าวโดยมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมและผ่านการประเมินความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี (TRL ๓-๙) จำนวน ๑๐ ชุด มีเกณฑ์การยอมรับเทคโนโลยีอยู่ในระดับ A และ B ในส่วนของห่วงโซ่คุณค่าไผ่นั้นเกิดเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการแปรรูปไผ่ จำนวน ๑ ชุด มีเกณฑ์การยอมรับเทคโนโลยีอยู่ที่ระดับ D และมีความพร้อมในการนำไปขยายผลสร้างโอกาสให้กับคนจนบนห่วงโซ่คุณค่าเป้าหมาย


ภาพ/ข่าว: สุริยนต์ สูงคำ เจ้าหน้าที่วิจัย สวพ.







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon