เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 27 พฤษภาคม 2567 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 3685 คน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้และเตรียมความพร้อมการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล SDGs ของมหาวิทยาลัย และระบบ Times Higher Education Impact Ranking สำหรับการรายงานข้อมูลเพื่อประเมินผล Times Higher Education Impact Ranking ปี 2023-2024 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวชี้วัดด้านเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อการตัดสินใจ รวมถึงการกำกับ ดูแลข้อมูลได้อย่างมี ประสิทธิภาพ การสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 27 และ 28 พฤษภาคม 2567 ณ โรงแรมแคนทารีฮิล จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ธีระศักดิ์ อุรัจนานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา ได้เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. ประชา ยืนยงกุล ผุ้ช่วยอธิการบดี เป็นผู้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดโครงการ มีผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วยคณะกรรมการดำเนินงาน และคณะกรรมการ จัดทำรายงานและนำส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ ระดับรองคณบดี รองผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้า สำนักงาน จำนวน 60 คน โดยรับเกียรติจากร องศาสตราจารย์ ดร.ปิยะพงษ์ เนียมทรัพย์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้มีประสบการณ์ในการดำเนินงานและประสบความสำเร็จด้าน SDGs ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สำหรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) หรือ SDGs เป็นเป้าหมายระดับโลกจำนวน 17 เป้าหมาย ที่ทั่วโลกกว่า 193 ประเทศร่วมกันกำหนดขึ้น โดยสัญญาว่าทุก ประเทศจะร่วมกันผลักดันเป้าหมายเหล่านี้ให้สำเร็จภายในปี 2030 หรือ พ.ศ. 2573 ซึ่งแนวคิดที่ สำคัญของของ SDG คือ
- การพัฒนาที่รับผิดชอบ ไม่สร้างผลกระทบเชิงลบต่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
- การพัฒนาที่ครอบคลุม ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
- การพัฒนาที่ตั้งรับ ปรับตัวได้ ฟื้นตัวได้ไว ไปสู่จุดใหม่ที่ดีกว่าเดิม
ทั้งนี้ SDGs มุ่งเน้นสร้างกระบวนใหม่แบบพลิกโฉม หรือ Transformative การให้ Steak holder มีส่วนร่วมทุกขั้นตอน เพื่อการพัฒนาอย่างบูรณาการและทุกระดับ การดำเนินงาน SDGs ของ มทร.ล้านนา ภายใต้เวทีการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ระบบ Times Higher Education Impact Ranking จำนวน 2 ครั้ง คือปี 2022 (คะแนนรวม 1000+ จาก 1591 สถาบันทั่วโลก และ 2023 (จะประกาศผลวันที่ 12 มิย 2567 คณะกรรมการตรวจสอบ และประเมินผล (คตป.) กำหนดเป้าหมายที่ 2,4,8,9, 11, 12 และ 17 ให้อยู่ในอันดับที่ 801-1000) โดยในปี 2024 มทร.ล้านนา ปรับแผนและรูปแบบการดำเนินงาน SDGs ภายใต้ความจริงที่ว่า "SDGs ไม่ใช่งานงอก แต่เป็นงานที่ทำประจำอยู่แล้ว และ SDGs ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งสั่งให้คน อื่นทำตาม แต่เป็นเรื่องสำคัญของคนทุกคน" มทร.ล้านนา จึงแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้น ประกอบด้วยกรรมการหลักจำนวน 2 ชุด คือ คณะกรรมการ ดำเนินงาน และคณะกรรมการจัดทำรายงานและนำส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ โดยวางการทำงานไว้ 3 ขั้นตอน คือ สร้างความตระหนักรู้ สร้างการมีส่วนร่วม และสร้างกลไกการขับเคลื่อน ดังนั้น การจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการวันนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการสร้างความตระหนักรู้ให้กับ คณะกรรมการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วยบุคลากรระดับนโยบายของแต่ละหน่วยงานทุกหน่วยใน มทร.ล้านนา เราจึงมีความคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หลังจากการสัมมนานี้ คณะกรรมการดำเนินงานจะมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวชี้วัดด้านเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อการตัดสินใจรวมถึงการกำกับ ดูแลข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลกำหนดแนวทางแผนงานและการดำเนินงาน ด้านต่าง ๆ ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและในระดับหน่วยงานรวบรวมและนำส่งข้อมูลของหน่วยงานภายใต้สังกัดหรือของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดด้านเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้าสู่ระบบกลางของมหาวิทยาลัย
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา