เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 15 พฤศจิกายน 2567 โดย สกนธ์ เรืองฉาย จำนวนผู้เข้าชม 88 คน
วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน 2567 เวลา 07.00 น. ผศ.ดร.กันยาพร ไชยวงศ์ รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมอาจารย์และบุคลากร ได้เข้าพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สด ถวายแด่ พระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” ประจำปี 2567 โดย นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานงาน พร้อมด้วยข้าราชการ,ตุลาการ, ทหาร,ตำรวจ,อัยการ,องค์กรอิสระ,บุคลากรภาครัฐและภาคเอกชน เข้าร่วมประกอบพิธี ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 ถนนยันตรกิจโกศล ต.ดู่ใต้ อ.เมืองน่าน จ.น่าน
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พุทธศักราช 2545 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลุยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรในฐานะที่ทรงเป็นพระบิดาแห่งฝนหลวงและได้กำหนดให้ วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง เนื่องจากวันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง จังหวัดน่าน น้อมรำลึกในพระมหากรุณา ธิคุณ ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงคิดค้นฝนเทียม เพื่อช่วยเหลือพสกนิกรชาวไทยในพื้นที่ประสบภัยแล้ง องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โครงการพระราชดำริฝนหลวง สืบเนืองเป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภคและเกษตรกรรมอันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากความผันแปรและคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติกล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าช้าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติ หรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ทรงเห็นว่าภาวะแห้งแล้งได้ทวีความถี่และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากความผันแปรและคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่ายังเป็นสาเหตุทำให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรและยังส่งผลกระทบในด้านเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วยประโยชน์จากโครงการฝนหลวง ที่เกิดจากพระปรีชาสามารถและสายพระเนตรอันยาวไกลของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีพระราชดำริโครงการฝนหลวง เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2498 นับตั้งแต่นั้น ทรงทุ่มเทคิดค้นวิจัยและพัฒนาการทำ “ฝนหลวง” จนประสบความสำเร็จ ฉะนั้น การขานนามพระองค์ว่า“พระบิดาแห่งฝนหลวง” ถือเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณหาใดเปรียบ พระองค์จะสถิตอยู่ในหัวใจพสกนิกรชาวไทยตลอดไป
ขอบคุณภาพ : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา น่าน
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา