โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา น่าน, ศูนย์วนเกษตร-พฤกษเภสัช (PAD) และจังหวัดน่าน ร่วมกับมูลนิธิรักษ์ป่าน่านฯ เปิดตัวโครงการ “ป่ายาชุมชน” ภายใต้แนวคิด “ชุมชนคืนป่า-ทำยาจากพืช” (กิจกรรมต้นแบบการปลูกพืชยาคืนป่า) | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน

มทร.ล้านนา น่าน, ศูนย์วนเกษตร-พฤกษเภสัช (PAD) และจังหวัดน่าน ร่วมกับมูลนิธิรักษ์ป่าน่านฯ เปิดตัวโครงการ “ป่ายาชุมชน” ภายใต้แนวคิด “ชุมชนคืนป่า-ทำยาจากพืช” (กิจกรรมต้นแบบการปลูกพืชยาคืนป่า)

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 12 ธันวาคม 2567 โดย สกนธ์ เรืองฉาย จำนวนผู้เข้าชม 224 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

     วันพุธที่ 11 ธันวาคม 2567 เวลา 08.00 น. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน, ศูนย์วนเกษตร-พฤกษเภสัช (PAD) และจังหวัดน่าน ร่วมกับมูลนิธิรักษ์ป่าน่านฯ ได้เปิดตัวโครงการ “ป่ายาชุมชน” ณ ชุมชนบ้านเมืองหลวง ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ภายใต้แนวคิด “ชุมชนคืนป่า-ทำยาจากพืช” (กิจกรรมต้นแบบการปลูกพืชยาคืนป่า)

     โดย นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ (ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน) และ คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ (ประธานคณะทำงานโครงการรักษ์ป่าน่าน ตามพระราชดำริ) เป็นประธานในพิธี, มี รศ.ดร. พระราชนันทวัชรบัณฑิต (ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์นครน่านเฉลิมพระเกียรติฯ, เจ้าอาวาสวัดพระธาตุแช่แห้งพระอารามหลวง), ผศ.ดร. นพดล กิตนะ (ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค (CLNR) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) และ ผศ.ดร.วิโรจน์ มงคลเทพ (ผู้อำนวยการสำนักงานบริหาร น่าน) ร่วมกล่าวความร่วมมือของโครงการ พร้อมทั้ง ผศ.ดร.รัชนีภรณ์ อิ่นคำ (ผู้อำนวยการร่วมศูนย์วนเกษตร-พฤกษเภสัช (PAD)) บุคลากรศูนย์ คณาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้นำชุมชน หน่วยงานท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ร่วมกิจกรรมอย่างคึกคัก

     โครงการ “ป่ายาชุมชน” (กิจกรรมต้นแบบการปลูกพืชยาคืนป่า) มีเป้าหมายในการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในชุมชน พร้อมฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของป่าผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชน อีกทั้งสนับสนุนการใช้พืชสมุนไพรในพื้นที่ป่าให้เกิดประโยชน์ในการผลิตยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่เพียงช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นโอกาสในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในด้านเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ มทร.ล้านนา น่าน, ศูนย์วนเกษตร-พฤกษเภสัช (PAD) และจังหวัดน่าน จะร่วมดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืนแก่พื้นที่และประชาชนในอนาคต







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon