เผยแพร่เมื่อ : พุธ 19 มิถุนายน 2567 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 1866 คน
วันที่ 11 มิถุยายน พ.ศ. 2567 คณะกรรมการดำเนินงานการจัดการความรู้ในองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้จัดกิจกรรม เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) มทร.ล้านนา ประจำปี 2567 ด้านการวิจัย เวลา 13.30 - 15.00 น.ผ่านทางโปรแกรม Microsoft Teams โดยมี ผศ.ดร. ธัญวดี สุจริตธรรม รองผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ฝ่ายบริหารและการขับเคลื่อนงานสนับสนุน ประธานคณะกรรมการดำเนินงานการจัดการความรู้ในองค์กร กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม และได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ฐิติพร พันธุ์ท่าช้าง ผู้ช่วยอธิการบดีด้านวิชาการ กิจการนักศึกษา ด้านวิจัยและบริการวิชาการ เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม มีอาจารย์ เจ้าหน้าที่ ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 95 คน โดยก่อนมอบเวทีการเสวนาให้กับผู้นำเสวนา คณะกรรมการฯ จัดกิจกรรมสุ่มมอบของที่ระลึกจากรายชื่อผู้ลงทะเบียนล่วงหน้า จำนวน 1 คน
กิจกรรมเสวนาดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการจัดการความรู้ชุมชนนักปฏิบัติของมหาวิทยาลัย เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้ระหว่างกันในการถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้สู่บุคลากรทั้งมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งสามารถนำแนวปฏิบัติทั้งหลายเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์และประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน และองค์กร โดยในครั้งนี้ ได้นำแนวทางปฏิบัติที่ดี (Good practice) จากปีที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2566) ในหัวข้อเรื่อง "เทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ" โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงนุช เกตุ้ย อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน เป็นผู้นำเสวนา พร้อมเชิญผู้ร่วมเสวนาที่มีประสบการณ์และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย และ น่าน ที่มีความรู้ รวมถึงผู้ที่กำลังจะขอตำแหน่งวิชาการมาแบ่งปันประสบการณ์ ผ่านการตีพิมพ์งานวิชาการและสร้างตัวเองให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านหนึ่ง เพื่อเผยแพร่ความรู้ แลกเปลี่ยนมุมมอง และส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมพัฒนาตนเป็นผู้เชี่ยวชาญ ผ่านประสบการณ์และความรู้จากผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการทำ KM และการเขียนบทความวิชาการ
ดูวีดิทัศน์กิจกรรม ที่ CoP 2567 ด้านการวิจัย : เทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา