เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 5 กรกฎาคม 2567 โดย สกนธ์ เรืองฉาย จำนวนผู้เข้าชม 485 คน
วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฏาคม 2567 เวลา 13.00 น. กรมหม่อนไหม และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เรื่อง การวิจัยและพัฒนาวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหม่อนไหม โดย พันจ่าเอกประเสริฐ มาลัย อธิบดีกรมหม่อนไหม และ รองศาสตราจารย์ ดร.อุเทน คำน่าน รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นผู้แทนร่วมลงนาม มี นายพิชัย เชื้องาม สมข. 1 , นายแดนชัย แก้วต๊ะ ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ แพร่ , นางสาววันทนา ทองเล่ม ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ น่าน , ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิสิษฐ์ วิมลธนสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน นโยบายและยุทธศาสตร์ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนนท์ นำอิน ผู้ช่วยอธิการบดี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ มงคลเทพ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหาร น่าน ร่วมลงนามสักขีพยาน มีผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และผู้แทนหน่วยงานเข้าร่วมพิธี จากนั้นผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้นำคณะเยี่ยมชมบูธแสดงผลงานวิจัยด้านหม่อนไหมและด้านอื่นๆของนักวิจัยและคณาจารย์ ณ ห้องประชุมชมพูภูคา อาคารกองบริหารทรัพยากรน่าน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน
การลงนามความร่วม การวิจัยและพัฒนาวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหม่อนไหม ในครั้งนี้เพื่อ...
1). เพื่อพัฒนาทางด้านงานวิจัย วิชาการ และห้องปฏิบัติการทั้งสองหน่วยงาน ที่จะนำไปสู่การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ชุมชน ทั้งภาครัฐและเอกชนรวมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร อุตสาหกรรม และการพาณิชย์
2). เพื่อนำผลงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การจัดการนวัตกรรม เครื่องมือและสิ่งประดิษฐ์ที่พัฒนาโดย “กรมหม่อนไหม” และ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา” มาใช้ เพื่อปรับปรุงกระบวนการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ต่อยอดสู่การพัฒนาเชิงอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและ การพัฒนาสังคม ตลอดจนการพึ่งพาตัวเองทางด้านงานวิจัยของประเทศ
3). เพื่อประโยชน์ในการพัฒนางานวิจัยร่วมกัน ตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ เพื่อประโยชน์โดยรวมต่อประเทศด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชย์ และการพัฒนาสังคม
4). เพื่อพัฒนาบุคลากรจากความร่วมมือทางวิชาการ และงานวิจัย ระหว่าง “กรมหม่อนไหม” และ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา” เป็นประโยชน์โดยรวมต่อองค์กรและสถาบัน
5). เพื่อการทดสอบมาตรฐานและพัฒนาระบบฐานข้อมูลเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกษตรกร นักวิจัย และบุคคลที่สนใจ สามารถเข้าถึงและใช้ข้อมูลได้โดยง่าย
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา