โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดอันดับ THE Impact Ranking แก่คณะกรรมการดำเนินงาน | กองบริหารทรัพยากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน

มทร.ล้านนา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดอันดับ THE Impact Ranking แก่คณะกรรมการดำเนินงาน

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 5 ตุลาคม 2566 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 1 คน

(3) ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

   งานวิเทศสัมพันธ์ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การจัดอันดับ THE Impact Ranking” ระหว่างวันที่ 5-6 ตุลาคม 2566 ณ โรงแรมคุ้มภูคำ เชียงใหม่  เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมาย SDCS 1-17 พร้อมตัวชี้วัด วิธีการคัดเลือกและเตรียมข้อมูล รวมถึงการกรอกข้อมูลเข้าระบบ แก่คณะกรรมการดำเนินงานการจัดอันดับมหาวิทยาลัย Impact Ranking ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในการขับเคลื่อนกระบวนการแสดงสถานะของมหาวิทยาลัยที่มีบทบาทหน้าที่ต่อสังคมซึ่งประกอบไปด้วย การวิจัย การเรียนการสอน การบริหารจัดการภายใน และการบริการสังคม โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี เป็นประธานเปิดการอบรม พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยโทร ดร.ณัฐรัตน์ ปาณานนท์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดงาน

   ในโอกาสเดียวกันนี้ยังได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มารุต ตั้งวัฒนาชุลีพร คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ และรองศาสตราจารย์ ดร.วิทวัส แจ้งเอี่ยม คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นวิทยากรให้ความรู้ในกิจกรรม Work Shop “เทคนิคการจัดเก็บข้อมูลให้ตรงตามตัวชี้วัด ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน SDGs 1-17 ของ Sustainable Development Goals: SDGs หรือ THE Impact Ranking  
    สำหรับ Times Higher Education (THE) เป็นองค์กรจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกจากประเทศอังกฤษ ที่มีการรวบรวมข้อมูลและเผยแพร่ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) หรือ “THE Impact Rankings” เพื่อแสดงสถานะของมหาวิทยาลัยทั่วโลกโดยใช้การประเมินตัวชี้วัดภายใต้ 4 ขอบเขตหลัก  ได้แก่ 1) งานวิจัย (research) 2) นโยบายและแนวทางปฏิบัติภายในมหาวิทยาลัย (stewardship) 3) การเชื่อมโยงกับสังคมในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับโลก (outreach) และ 4) การเรียนการสอน (teaching) โดยผลคะแนนรวมของแต่ละมหาวิทยาลัย มาจากการคำนวณคะแนนของเป้าหมายที่ 17 (ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) และอีก 3 เป้าหมายที่มหาวิทยาลัยได้คะแนนสูงสุด ทั้งนี้เพื่อให้คะแนนสะท้อนตัวตนของที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญ อันจะนำไปสู่แนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารงานและการพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืนต่อไป   
(ขอบคุณเครือข่ายงานสื่อสารองค์กร งานวิเทศสัมพันธ์ สวท. มทร.ล้านนา )