โลโก้เว็บไซต์ กพน.จัดสัมมนาเพื่อพัฒนาบุคลากร เตรียมความพร้อมการปฏิบัติงานให้การสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพนักศึกษา  | กองบริหารทรัพยากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน

กพน.จัดสัมมนาเพื่อพัฒนาบุคลากร เตรียมความพร้อมการปฏิบัติงานให้การสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพนักศึกษา

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 25 เมษายน 2567 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 1 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

   กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา “จัดโครงการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านงานกิจการนักศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2567” ระหว่างวันที่ 25 – 26 เมษายน 2567 ณ โรงแรมบุษย์น้ำทอง จ.ลำปาง เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านกิจการนักศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจและพัฒนาการปฏิบัติงานกิจการนักศึกษาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ผ่านกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการทำ Workshop เกี่ยวกับการออกใบรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรสำหรับนักศึกษา การจัดสรรค่าธรรมเนียมกิจกรรมนักศึกษา กองทุนพัฒนานักศึกษา การพัฒนาวินัยนักศึกษาและการส่งเสริมนักศึกษาที่สอดคล้องกับลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตลอดจนแนวทางการเสริมสร้างทักษะให้นักศึกษาสามารถเป็นผู้ประกอบการ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ธีระศักดิ์ อุรัจนานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ พร้อมด้วยพันจ่าเอกอำนาจ ใจคำฟู ผู้อำนวยการกองพัฒนานักศึกษา กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดโครงการ ซึ่งมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านงานกิจการนักศึกษา จาก 4 คณะ 1 วิทยาลัย และกองการศึกษาทุกพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 70 รายเข้าร่วมโครงการ
   สำหรับการจัดโครงการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลกกรผู้ปฏิบัติงานด้านงานกิจการนักศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2567 ในครั้งนี้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืน 17 เป้าหมาย Sustainable Development Goals (SDGs) เป้าหมายย่อยที่ 17.16 เรื่องการยกระดับความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยส่งเสริมความร่วมมือจากภาคส่วนที่หลากหลาย แบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญ เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และตอบโจทย์ประเด็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัยเพื่อการพัฒนาบัณฑิต นักปฏิบัติสู่ศตวรรษที่ 21 และ กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาระบบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพและมาตรฐานอาชีพของมหาวิทยาลัย