เผยแพร่เมื่อ : อาทิตย์ 6 เมษายน 2568 โดย ณัฏฐ์พัฒน์ คนมีฉลาด จำนวนผู้เข้าชม 2 คน
ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๘ และ วันที่ ๒๔ - ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๘ ที่ผ่านมา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (สวส.มทร.ล้านนา) จัดโครงการสัญจรพบปะงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ๕ พื้นที่ ประกอบด้วย พื้นที่พิษณุโลก ตาก ลำปาง น่าน และเชียงราย เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาจากการแลกเปลี่ยนและจัดทำแผนพัฒนาดิจิทัลของมหาวิทยาลัยฯ วางแผนโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
การลงพื้นที่ครั้งนี้ ของ สวส.มทร.ล้านนา นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ลือโขง ผู้อำนวยการ คณะผู้บริหาร หัวหน้างาน และบุคลากร ได้รับเกียรติจากผู้อำนวยการสำนักงานบริหาร ผู้บริหาร บุคลากร ที่เกี่ยวข้องในแต่ละพื้นที่เข้าร่วมการประชุมฯ มีนางปวีณา ทองปรอน หัวหน้าสำนักงาน สวส. แนะนำผู้บริหาร บุคลากร ของ มทร.ล้านนนา นำเสนอภาพรวมแผนปฏิบัติการดิจิทัล ระยะเวลา ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) สู่แผนปฏิบัติการดิจิทัลของ สวส.มทร.ล้านนา การจัดสรรเงินรายได้ แผนงานค่าพัฒนามหาวิทยาลัยดิจิตอล ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๘ และปีงบประมาณ ๒๕๖๙ กรอบแนวคิด การจัดสรรงบประมาณการรายรับ ค่าสารสนเทศและหอสมุดการประมาณการรายจ่ายประจำ และพิจารณาแนวทางการจัดสรรงงบประมาณคงเหลือ สู่การจัดสรรลงพื้นที่ พร้อมทั้งเป็นผู้ดำเนินการประชุมฯ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามวัตถุประสงค์ของการลงพื้นที่ครั้งนี้
โดยหัวหน้ากลุ่มงาน/ตัวแทน นำเสนอผลการดำเนินของปีงบประมาณ ๒๕๖๗ แผนการดำเนินงานในปี ๒๕๖๘ และปี ๒๕๖๙ ประกอบด้วย รายงานผลการปฏิบัติงาน งานแผนและงบประมาณ รายงานผล การใช้จ่ายงบประมาณ ค่าบำรุงห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ แผนงานค่าพัฒนามหาวิทยาลัยดิจิตอล ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ (๗๐๐/คน/ภาคเรียน), กรอบงบประมาณ ผลการใช้จ่ายงบประมาณ รวมไปถึง ข้อมูลรายการครุภัณฑ์ ปี ๒๕๖๙ ของแต่ละพื้นที่
งานความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (CYBER INCIDENT RESPONSE TEAM : CIRT) รายงานเกี่ยกับการปรับปรุง เช่า FW ส่วนกลาง ให้รับโหลดได้มากขึ้น Antivirus แบบ AI สำหรับคอมพิวเตอร์แม่ข่าย การติดตั้ง FW ที่เขตพื้นที่ และเปิดโหมด SD-WAN เพื่อสลับเส้นทางโดยอัตโนมัติ โดยแจ้งที่ประชุทเกี่ยวกับการมีระบบ SSL VPN ให้ทุกพื้นที่ออกอินเทอร์เน็ตด้วยตนเองได้ ต่อมารายงานการดำเนินงาน ปีงบประมาณ ๒๕๖๘ ไม่ว่าจะเป็น ครุภัณฑ์พัฒนากำลังคนด้านรักษาความปลอดภัยในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๑ ชุด, ความร่วมมือdy[บริษัท Fortinet Security Network (Thailand) Ltd., ครุภัณฑ์ระบบเสริมสร้างความปลอดภัยและปกป้องข้อมูลทางไซเบอร์ของมหาวิทยาลัย (CYBER SECURITY) ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๑ ระบบ สำหรับการดำเนินงานปีงบประมาณ ๒๕๖๙ ประกอบด้วย ครุภัณฑ์ชุดรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลและเฝ้าระวังการโจมตีทางไซเบอร์ ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จำนวน ๑ ชุด นำเสนอตัวอย่าง : การถูกบุกรุกทางด้านไซเบอร์, การการถูกโจมตีหรือระบบถูกหยุดให้บริการ รายงานการค้นพบข้อมูลเว็บพนัน ช่องทางและขั้นตอนระบบการแจ้งเกี่ยวกับระบบเฝ้าระวังภัยคุกคามการศึกษา (EduShield) การค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ภายในด้วย Phone Direct App (Power Apps) รวมไปถึงการใช้งานต่างๆ, ระบบ Cloud แบบส่วนตัว, CrowdStrike – ตรวจจับและยับยั้งภัยคุกคามทางไซเบอร์ด้วย, จุดการให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wifi) ในภาพรวมรวมของ มทร.ล้านนา ๖ พื้นที่, ระบบ Network
ส่วนงานพัฒนาระบบสารสนเทศ ได้นำเสนอภาพรวมเกี่ยวกับแผนงานที่ดำเนินการเสร็จแล้ว งานที่กำลังอยู่ในหว่างการดำเนิงาน และสิ่งที่จะดำเนินการในอนาคต แผนงานปีงบประมาณ ๒๕๖๗ เช่น โครงการจัดเก็บข้อมูลบุคลากรและนักศึกษาเพื่อบริหารจัดการฐานข้อมูลผู้ใช้งานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (RMUTL Account) โครงการบริหารจัดการฐานข้อมูลครุภัณฑ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (e-Asset) โครงการพัฒนาศักยภาพด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ RMUTL CodeCamp ด้านแผนงานปีงบประมาณ ๒๕๖๘ เช่น โครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพการสื่อสารดิจิทัล เพื่อสร้างภาพลักษณ์องค์กรที่ยั่งยืน (RMUTL URL Shortener & QR Code Generator), โครงการยกระดับการสร้างกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับมทร.ล้านนาให้ก้าวสู่มาตรฐานสากล ISO/IEC29110 อย่างมั่นคงและยั่งยืน, โครงการจัดทำระบบขอ Digital ID สำหรับการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ TUC - Digital Signature, การใช้งาน ACCOUNT RMUTL บัญชีผู้ใช้งานระบบสารสนเทศ ผู้ใช้งานทั้งหมดมากกว่า กว่า ๖๓,๐๐๐ User, ระบบบริหารจัดการเว็บไซต์ (W eb CMS RMUTL) กว่า ๙๕ เว็บไซต์ที่ใช้งาน, ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มากกว่า ๗๐๕ หน่วยงาน ที่ใช้งานระบบรับส่งเอกสาร, ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หรือ ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature), ระบบบริหารงานทรัพยากรบุคคล, ระบบลงเวลาปฏิบัติงาน (Check-in) มากกว่า ๑ ล้านครั้ง, ระบบบริหารจัดการข้อมูลครุภัณฑ์ (e-asset rmutl) โดยเริ่มใช้งาน ปี งปม. ๒๕๖๘, ระบบจัดเก็บการลงทะเบียนสำหรับเมืองอัฉริยะ (e-Regis) to Transcript กิจกรรม (e-regis rmutl), บริการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาด้านไอที (IT Service) Help desk มากกว่า ๑,๒๐๐ ครั้ง, เว็บไซต์สำหรับแสดงโปรไฟล์ ผลงาน และข้อมูลวิชาการ สำหรับบุคลากร (e-profile rmutl), คลังข้อมูลโครงการวิจัย ผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ และข้อมูลบริการวิชาการ (e-research rmutl), Intellectual Property ระบบฐานข้อมูลทรัพสินทางปัญญา (e-IP rmutl) นอกจากนี้ยังมีการต่อยอดและสร้างมูลค่า ขยายผลสู่การสร้างนวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่า และเกิดการสร้างรายได้ให้แก่มหาวิทยาลัย ล้านนาสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (Lanna e-Office) กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทงาน วรรณกรรม ลักษณะงาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ออกให้ ณ วันที่ ๑๓ เดือน พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา) รวมไปถึงการขยายผลสู่การสร้างนวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่า และเกิดการสร้างรายได้ให้แก่มหาวิทยาลัย ที่สนใจ เช่น อบรมสอนการใช้งานระบบสารบรรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ รวมไปถึงมีการนำมาตรฐานสากล ISO/IEC 29110 มาใช้กับการพัฒนาระบบสารสนเทศ ได้รับมาตรฐานด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ วันที่ 19 ตุลาคม 2563 Cycle 1 ปี 2020-2023 อีกด้วย
ด้านกลุ่มงานบริการการศึกษา (งานมัลติมีเดีย) นำเสนอเกี่ยวโครงการที่ดำเนินงาน ปีงบประมาณ ๒๕๖๗ เช่น โครงการบอกรับสมาชิกชุดซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ รายการโปรแกรม Adobe , โครงการอบรมการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล ด้วยชุดซอฟต์แวร์ Adobe, โครงการพัฒนาทักษะการผลิตสื่อวิดีโอสั้นด้วยโปรแกรม Capcut เพื่อใช้ในสื่อออนไลน์, ความร่วมมือการปฏิบัติงาน ร่วมกับพื้นที่เกี่ยวกับการถ่ายทอดสดและวงจรปิด พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ ๔ ส่วนการดำเนินงานไตรมาส ที่ ๑ - ๒ ปีงบประมาณ ๒๕๖๘ จำนวน ๖ โครงการ ประกอบด้วย ๑.ห้องปฏิบัติการเรียนรู้ด้านการผสมเสียงและตัดต่อภาพด้านสื่อมัลติมีเดีย (Dolby Atmos) ๒.ห้องปฏิบัติการเรียนรู้ด้านบันทึกเสียงระดับสากล และทันสมัย (ADR) ๓.โครงการบอกรับสมาชิกชุดซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ รายการโปรแกรม Adobe จำนวน ๑ รายการ, ๔.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาสี่อดิจิทัลด้วยสมาร์ทโฟน ๕.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ "การสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลด้วยชุดซอฟต์แวร์ Adobe" และ ๖.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ส่วนโครงการที่เสนอโครงการที่เสนอ ปีงบประมาณ ๒๕๖๙ มีจำนวน ๕ โครงการ คือ ๑.โครงการบอกรับสมาชิกชุดซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ รายการโปรแกรม Adobe จำนวน ๑ รายการ ๒.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การมิกซ์เสียงระบบ Dolby Atmos สำหรับงานวิดีโอ” ๓.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างสื่อในยุคดิจิทัลด้วย AI” ๔.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างคอร์สออนไลน์บนแพลตฟอร์ม ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และ ๕.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้ Canva สร้างสื่ออย่างมืออาชีพ” และการแนะนำ เชิญชวน อาจารย์ บุคลากร ร่วมบันทึกวิดีโอ เพื่อจัดทำ RMUTL OPEN COURSE (FREE ONLINE COURSES WITH CERTIFICATE) พัฒนาศักยภาพของตัวเอง Reskill & Upskill ในยุค Digital Age กับคอร์สเรียนออนไลน์ฟรี ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา รวมไปถึงการนำเสนอการให้บริการต่างๆ ด้านการผลิตสื่อ ที่สนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน สวส. และ มทร.ล้านนา
สำหรับงานเทคโนโลยีสารสนเทศและฝึกอบรม นำเสนอเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ การให้บริการการจัดฝึกอบรมและสร้างสมรรถนะเพื่อเสริมสร้างทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, ประสานงานและให้บริการวิชาการแก่สังคม (University Social Responsibility), เสริมกระบวนการจัดหารายได้มุ่งสู่การบริหารจัดการแบบพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน (Sustainability) และพัฒนาทักษะของบุคลากรภายในและภายนอกองค์กร ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก Disruptive Society ผลการดำเนินงาน ปี งปม.๒๕๖๗ ประกอบด้วย โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการประยุกต์ใช้งานปัญญาประดิษฐ์สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพ การเรียนการสอนและนวัตกรรม (AI Learning), โครงการส่งเสริมสมรรถนะการวิเคราะห์ข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ (Data Analyst) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, โครงการการส่งเสริมสมรรถนะทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล Digital Literacy ในศตวรรษที่ ๒๑, โครงการพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะในการสร้างข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศและความปลอดภัยด้วยไอทีด้วยมาตรฐานสากลระดับ Professional (COMPTIA Certificate), ชุดโปรแกรมที่ให้บริการสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และต่อมา โครงการที่ขอรับการอนุมัติงบประมาณ ฯ เป้าหมายการดำเนินงานในปีงบประมาณ ๒๕๖๘ โดยการจัดหาได้เข้ามหาวิทยาลัยฯ การส่งเสริมความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับบุคลากรและนักศึกษา ในกิจกรรมการทดสอบมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และกิจกรรม IT Exit Exam การประสานงานร่วมกับหน่วยงาน ในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการและการจัดหารายได้ในการใช้งานชุดโปรแกรม ที่เป็นผลงานของมหาวิทยาลัยให้กับหน่วยงานภายนอก
ปิดท้ายด้วยงานห้องสมุดดิจิทัล นำเสนอเกี่ยวกับการส่งเสริมห้องสมุดดิจิทัล เป็นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูลในลักษณะออนไลน์ สามารถเข้าถึงสารสนเทศผ่านอินเทอร์เน็ตได้ มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการค้นหาและเข้าถึงข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การให้บริการฐานข้อมูลและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book), ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มหาวิทยาลัยบอกรับรายปี งปม. ๒๕๖๗ ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่กระทรวง อว.บอกรับ ปี งปม. ๒๕๖๗ บทความวิชาการ (academic articles), ฐานข้อมูล (databases), วิดีโอ เสียง (audiovisual materials) และอื่นๆ การให้บริการฐานข้อมูลและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน (e-books ,e- databases) ผ่านเว็บไซต์ห้องสมุด ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มหาวิทยาลัยบอกรับ เครื่องมือสนับสนุนการเรียนการสอน และการจัดทำผลงานวิชาการ แผนการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลระหว่างปีงบประมาณ ๒๕๖๗ - ๒๕๗๑
หลักจากที่ หัวงานในแต่ละงาน นำเสนอครบทุกส่วนงานแล้ว มีรองผู้อำนวยการ ของ สวส.มทร.ล้านนา ที่กำกับดูแลของแต่ละงาน สรุปประเด็น สาระสำคัญของแต่ละงานให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น รวมไปถึงการเปิดโอกาสให้ วิทยบริการฯ ทั้ง ๕ พื้นที่ ร่วมระดมสมอง แลกเปลี่ยนและจัดทำแผนพัฒนาดิจิทัลมหาวิทยาลัยฯ สู่การวางแผนโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และจัดทำแผนพัฒนาดิจิทัลของมหาวิทยาลัยฯ วางแผนโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
ชมภาพกิจกรรมเพิ่มเติม....
>> คลิกชมภาพกิจกรรม...การลงพื้นที่พิษณุโลก
>> คลิกชมภาพกิจกรรม...การลงพื้นที่ตาก
>> คลิกชมภาพกิจกรรม...การลงพื้นที่ลำปาง
>> คลิกชมภาพกิจกรรม...การลงพื้นที่น่าน
>> คลิกชมภาพกิจกรรม...การลงพื้นที่เชียงราย
ข่าว : ณัฏฐ์พัฒน์ คนมีฉลาด กลุ่มงานบริการการศึกษา สวส.มทร.ล้านนา
ภาพ : ชัชวาลย์ ศะศิวนิชย์ กลุ่มงานบริการการศึกษา สวส.มทร.ล้านนา