โลโก้เว็บไซต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา น่าน ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สด ถวายแด่ พระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” ประจำปี 2567 | กองบริหารทรัพยากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา น่าน ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สด ถวายแด่ พระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” ประจำปี 2567

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 15 พฤศจิกายน 2567 โดย สกนธ์ เรืองฉาย จำนวนผู้เข้าชม 1 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

     วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน 2567 เวลา 07.00 น. ผศ.ดร.กันยาพร ไชยวงศ์ รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมอาจารย์และบุคลากร ได้เข้าพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สด ถวายแด่ พระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” ประจำปี 2567 โดย นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานงาน พร้อมด้วยข้าราชการ,ตุลาการ, ทหาร,ตำรวจ,อัยการ,องค์กรอิสระ,บุคลากรภาครัฐและภาคเอกชน เข้าร่วมประกอบพิธี ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 ถนนยันตรกิจโกศล ต.ดู่ใต้ อ.เมืองน่าน จ.น่าน

     ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พุทธศักราช 2545 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลุยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรในฐานะที่ทรงเป็นพระบิดาแห่งฝนหลวงและได้กำหนดให้ วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง  เนื่องจากวันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง จังหวัดน่าน น้อมรำลึกในพระมหากรุณา ธิคุณ ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงคิดค้นฝนเทียม เพื่อช่วยเหลือพสกนิกรชาวไทยในพื้นที่ประสบภัยแล้ง  องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โครงการพระราชดำริฝนหลวง สืบเนืองเป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภคและเกษตรกรรมอันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากความผันแปรและคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติกล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าช้าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติ หรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง  ทรงเห็นว่าภาวะแห้งแล้งได้ทวีความถี่และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากความผันแปรและคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่ายังเป็นสาเหตุทำให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรและยังส่งผลกระทบในด้านเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วยประโยชน์จากโครงการฝนหลวง ที่เกิดจากพระปรีชาสามารถและสายพระเนตรอันยาวไกลของในหลวงรัชกาลที่ 9   ที่ทรงมีพระราชดำริโครงการฝนหลวง เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2498 นับตั้งแต่นั้น ทรงทุ่มเทคิดค้นวิจัยและพัฒนาการทำ “ฝนหลวง” จนประสบความสำเร็จ ฉะนั้น การขานนามพระองค์ว่า“พระบิดาแห่งฝนหลวง” ถือเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณหาใดเปรียบ พระองค์จะสถิตอยู่ในหัวใจพสกนิกรชาวไทยตลอดไป

ขอบคุณภาพ : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา น่าน